วันพุธที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2556

การออกใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู


โดยที่ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเป็นหลักฐานแสดงคุณสมบัติความรู้ ความสามารถการปฏิบัติงานและการปฏิบัติตนของผู้มีสิทธิประกอบวิชาชีพครู  จึงกำหนดให้ออกใบอนุญาต ประกอบวิชาชีพแก่ ผู้มีคุณสมบัติความรู้ ความสามารถการปฏิบัติงานตามเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพ และการปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณครู โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้
1.  เพื่อยกระดับมาตรฐานวิชาชีพครูให้เป็นวิชาชีพชั้นสูง สร้างความเชื่อถือศรัทธา และ    จูงใจ คนดี คนเก่ง เข้าสู่วิชาชีพครูให้มากขึ้น
2.   เพื่อเป็นการประกันคุณภาพการจัดการศึกษา และคุ้มครอง ผู้บริโภค ผู้รับบริการ  ทางการ
ศึกษาให้ได้รับอย่างมีคุณภาพและเป็นไปตามมาตรฐาน
3.  เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา  และพัฒนาคุณภาพเด็กและเยาวชนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์
ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ และคุณธรรม มีจริยธรรม และวัฒธรรม ในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่น
ได้อย่างมีความสุข

ผู้ต้องมีใบอนุญาติประกอบวิชาชีพครู
ผู้ประกอบวิชาชีพที่กฎหมายกำหนดให้ต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ และไม่ต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ
1.  ผู้ต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ ได้แก่ ครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา และบุคลากรทางการศึกษา  ที่จัดการศึกษาในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในรูปแบบ การศึกษาในระบบการศึกษาและนอกระบบโดยจัดการศึกษาในลักษณะสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย และโรงเรียนทั้งนี้ยกเว้นศูนย์   การเรียน ผู้ทำหน้าที่วิทยากรพิเศษทางการศึกษา และคณาจารย์ ผู้บริหารสถานศึกษาในระดับอุดมศึกษา ระดับปริญญา
2.  ผู้ที่ไม่ต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ ได้แก่
1)      ผู้ที่เข้ามาให้ความรู้แก่ผู้เรียนเป็นครั้งคราว
2)      ผู้ที่ไม่ได้ประกอบวิชาชีพหลักทางด้านการสอน แต่บางครั้งต้องทำหน้าที่สอนด้วย
3)      นักเรียน นักศึกษา หรือผู้เข้ารับการฝึกอบรม ซึ่งทำการฝึกหัด หรืออบรมในความ 
   
ควบคุม ของผู้ประกอบวิชาชีพ
4)      ผู้ที่จัดการศึกษาตามอัธยาศัย
5)      ผู้ที่ทำหน้าที่สอนในศูนย์การเรียน หรือสถานที่เรียนที่หน่วยการจัดการศึกษานอก
  
โรงเรียนบุคคลครอบครัว ชุมชน หรือสถาบันทางสังคมอื่นเป็นผู้จัด
6)      คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาในสถานศึกษาอุดมศึกษา ระดับปริญญา
7)      ผู้บริหารการศึกษา ระดับ หรือเขตพื้นที่การศึกษา

แนวทางการพัฒนาอาชีพครู

บทนำ
มีปัญหาหลายประการของการจัดการศึกษาของไทยที่เป็นสาเหตุทำให้ต้องมีการปฏิรูปการศึกษาอย่างขนาน
ใหญ่ ปัญหาสำคัญประการหนึ่ง คือ ปัญหาเกี่ยวกับครู
  และบุคลากรทางการศึกษา  ซึ่งมีปัญหาตั้งแต่การผลิต การใช้
การพัฒนา
  และการรักษามาตรฐานของวิชาชีพครู รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.. 2540 มาตรา 81 จึง กำหนดบทบัญญัติให้มีการ พัฒนาวิชาชีพครู ไว้ด้วย และในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ  .. 2542 มาตรา 9 (4) ก็ได้กำหนดบทบัญญัติให้มีหลักการส่งเสริมมาตรฐาน วิชาชีพครู คณาจารย์  และบุคลากรทางการศึกษา  และการพัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาอย่างต่อเนื่อง  นับเป็นหลักการและเหตุผลสำคัญในการกำหนดแนว
ทาง พัฒนาวิชาชีพครู ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิรูปการศึกษา

การปฏิรูปวิชาชีพครู


                        การปฏิรูปวิชาชีพครู ซึ่งรวมถึงผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา และบุคลากรทางการ
ศึกษา ได้กำหนดไว้ในหมวด 
7 ของ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ โดยมีแนวทางกล่าวได้  คือ
                        1. จัดให้มีระบบ และกระบวนการผลิต และพัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาให้มีคุณ
ภาพ และมาตรฐาน เหมาะสมกับการเป็นวิชาชีพชั้นสูง ปรับปรุงให้สถาบันที่ผลิตและพัฒนาครู คณาจารย์
  รวมทั้งบุคลากรทางการศึกษา มีความพร้อมและความเข้มแข็ง ในการเตรียมบุคลากรใหม่ และการพัฒนาบุคลากรประจำการอย่างต่อเนื่อง และจัดตั้งกองทุนพัฒนา ครู คณาจารย์และบุคลากรทาง         การศึกษา
                        2.  จัดให้มีการควบคุม และรักษามาตรฐานการประกอบวิชาชีพครู โดยจัดตั้งองค์กร       วิชาชีพ
ครูและสภาวิชาชีพครู ทำหน้าที่ กำหนดมาตรฐานวิชาชีพ ออกและเพิกถอนใบอนุญาตประกอบ
   วิชาชีพ กำกับดูแล
และการปฏิบัติตามมาตรฐานและจรรยาบรรณของวิชาชีพ รวมทั้งพัฒนาวิชาชีพครู
          ผู้บริหารสถานศึกษา และผู้
บริหารการศึกษา
                        3. จัดให้มีองค์กรกลางบริหารงานบุคคลของข้าราชการครู โดยให้ครูและบุคลากรทาง    การศึกษา
ทั้งของหน่วยงานทางการศึกษาในระดับสถานศึกษาของรัฐ และระดับเขตพื้นที่การศึกษา เป็น
    ข้าราชการสังกัด
องค์กรกลางบริหารงานบุคคลของข้าราชการครู โดยยึดหลักการกระจายอำนาจ การบริหารงานของบุคคลสู่เขตพื้นที่
การศึกษา และสถานศึกษา
                        4.  จัดให้มีกฎหมายว่าด้วยเงินเดือน ค่าตอบแทน สวัสดิการ และสิทธิประโยชน์เกื้อกูลอื่น สำหรับ
ข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษา เพื่อให้มีรายได้เพียงพอและเหมาะสมกับฐานะทางสังคมและวิชาชีพ
                        5.  จัดให้มีกองทุนส่งเสริมครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา เพื่อจัดสรรเป็นเงินอุดหนุน
งานริเริ่มสร้างสรรค์ ผลงานดีเด่น และเป็นรางวัลเชิดชูเกียรติครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา
                        6.  ให้หน่วยงานทางการศึกษา ระดมทรัพยากรบุคคลในชุมชนให้มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา
โดยนำประสบการณ์ ความรอบรู้ ความชำนาญ และภูมิปัญญาท้องถิ่นของบุคคลมาใช้ เพื่อให้เกิดประโยชน์ทาง
การศึกษาและยกย่องเชิดชูผู้ที่ส่งเสริม และสนับสนุนการจัดการศึกษา

มาตรฐานวิชาชีพครู


                        แนวทางการดำเนินงานที่กล่าวมาแล้วโดยเฉพาะ การควบคุม และรักษามาตรฐานการประกอบวิชาชีพ เป็นเรื่องที่เพิ่มจะกำหนดให้มีการดำเนินงานครั้งแรกในวิชาชีพครู โดยกำหนดให้มีการกำหนดมาตรฐาน
วิชาชีพ ออกและเ
พิกถอนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ กำกับดูแลการปฏิบัติตามมาตรฐานและจรรยาบรรณของวิชาชีพ รวมทั้งการพัฒนาวิชาชีพ

                        มาตรฐาน วิชาชีพครู  เป็นข้อกำหนดเกี่ยวกับ คุณลักษณะและคุณภาพที่พึงประสงค์ที่ต้องการให้เกิดขึ้นในการประกอบวิชาชีพครู โดยผู้ประกอบวิชาชีพจะต้องนำมาตรฐานวิชาชีพเป็นหลักเกณฑ์ในประกอบ
วิชาชีพคุรุสภาซึ่งเป็นองค์กรวิชาชีพครู ตาม พ
..ครู พ.. 2488 ได้กำหนดมาตรฐานวิชาชีพครู ไว้ ด้าน กล่าวคือ
                        1.  มาตรฐาน ด้านความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ
                        2.  มาตรฐาน ด้านการปฏิบัติงาน
                        3.  มาตรฐาน ด้านการปฏิบัติตน


ความรับผิดชอบของครู

           
     



 หน้าที่และความรับผิดชอบของครูเป็นส่วนสำคัญยิ่งในการประกอบวิชาชีพครูและการดำรงความเป็นครูของครูแต่ละคน  งานครูอาจกำหนดได้ว่ามีงานสอนงานอบรม และงานพัฒนาศิษย์ให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ของหลักสูตรและแผนการศึกษาแห่งชาติ ครูต้องมีหน้าที่และรับผิดชอบมากมายกว้างขวางยิ่ง
งานสอนเป็นหน้าที่ครูที่มุ่งไปที่ศิษย์ในด้านการให้ข้อมูลการให้เนื้อหาความรู้  เป็นการเผชิญกันระหว่างครูกับศิษย์
งานอบรมเป็นการจัดกระบวนการเรียนให้ศิษย์ได้มีประสบการณ์ต่างๆ
ที่ครูวางแผนไว้เพื่อให้ศิษย์เติบโตและอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
ส่วนงานพัฒนาศิษย์นั้นครูมีหน้าที่และความรับผิดชอบมากมายทั้งงานที่ต้องสัมผัสกับบุคคลภายนอกโรงเรียนและรวมถึงตัวครูเองด้วย
     หน้าที่ความรับผิดชอบของครู  หมายถึง  กิจที่ครูต้องกระทำให้ได้ผลดีโดยสม่ำเสมอ การกระทำของครูเพื่อให้เกิดผลดีได้นั้นต้องอาศัยพื้นฐานของกฎระเบียบ  แบบธรรมเนียม จริยธรรม จรรยาบรรณและคุณธรรมเป็นปัจจัยสำคัญด้วย
ความรับผิดชอบในหน้าที่ของครูเป็นพฤติกรรมที่พึงประสงค์ของครูที่สังคมคาดหวัง  เป็นภารกิจที่สังคมมอบหมายให้ผู้ประกอบวิชาชีพครูกระทำ  และเป็นพันธกิจที่ผู้เป็นครูมอบให้กับสังคม              
หน้าที่ของครูในแง่คุณลักษณะที่พึงประสงค์สรุปไว้ดังนี้
1.ครูเป็นผู้ที่สามารถให้ทางแห่งความรอดแก่ศิษย์  ความรอดมีอยู่สองทาง คือทางรอดทางกายและทางรอดทางใจ
2.ครูต้องสามารถดำรงความเป็นครูอยู่ได้ทุกอริยาบท
3.ครูต้องสามารถเป็นตัวอย่างตามคำสอนแก่ศิษย์ได้  สอนอย่างไรทำอย่างนั้น
การพิจารณาหน้าที่ความรับผิดชอบของครูนั้น  อาจพิจารณาได้สองด้าน คือ
การพิจารณาหน้าที่และความรับผิดชอบในเชิงของกฎระเบียบข้อบังคับที่ค่อนข้างเป็นลายลักษณ์อักษรหรือบทบัญญัติต่างๆ
เป็นลักษณะที่ค่อนข้างบังคับว่าครูต้องกระทำกิจเหล่านั้น
ส่วนการพิจารณาหน้าที่และความรับผิดชอบของครูในอีกด้านหนึ่งนั้นก็เป็นการพิจารณาหน้าที่ของครูในเชิงคุณลักษณะที่พึงประสงค์ที่เป็นไปตามแบบธรรมเนียมปฏิบัติมีลักษณะเป็นวัฒนธรรมและจารีตประเพณี
หน้าที่และความรับผิดชอบของครู
1. หมั่นอบรมเด็กอยู่เสมอ
2. ตั้งใจสอน  รักการสอน
3. จัดการปกครองให้เป็นที่เรียบร้อย
4. เตรียมการสอน  และทำบันทึกการสอน
5. หมั่นวัดผลและติดตามผลการเรียน
6. รับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
7. ช่วยให้คำแนะนำแก่เด็กด้วยความเต็มใจ
8. สอนให้เด็กเป็นประชาธิปไตย
9.ทำบัญชีเรียกชื่อและสมุดประจำชั้น
10. ดูแลบำรุงรักษาห้องเรียนและอาคารสถานที่
11. เกี่ยวกับการสอน  การอบรม  การวัดผล
12. เกี่ยวกับธุรการและระเบียบวินัย
13. ค้นคว้าเพิ่มเติมและหาความรู้ใหม่ๆ มาสอน
14. สอนให้เด็กเป็นคนดี
15. หมั่นหาความรู้และวิธีการหาความรู้
16. เป็นตัวอย่างแก่เด็ก
17. จัดการแนะแนวที่ดีแก่เด็ก
18. ช่วยงานสารบรรณและธุรการโรงเรียน
19. เอาใจใส่เด็ก
20. บริการโรงเรียน
21. เป็นครูประจำชั้น
22.ทำระเบียบและสมุดรายงานนักเรียน
23. มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี
24. ร่วมกิจกรรมชุมชน
25. สอนให้เข้าใจแจ่มแจ้ง
26.เอาใจใส่และพยายามเข้าใจปัญหาและความต้องการของเด็ก
27.ช่วยประชาสัมพันธ์กิจการของโรงเรียนได้ดี

ประวัติวันครู

วันครูได้จัดให้มีขึ้นครั้งแรกเมื่อ 16 มกราคม พ.ศ. 2500 สืบเนื่องมาจากการประกาศพระราชบัญญัติครูในราชกิจจานุเบกษา เมื่อ พ.ศ. 2488 ซึ่งระบุให้มีสภาในกระทรวงศึกษาธิการเรียกว่า คุรุสภาเป็นนิติบุคคลให้ครูทุกคนเป็นสมาชิกคุรุสภา โดยมีหน้าที่ในเรื่องของสถาบันวิชาชีพครูในขณะเดียวกันก็ทำหน้าที่ให้ความเห็นเรื่องนโยบายการศึกษาและวิชาการศึกษาทั่วไปแก่กระทรวงศึกษาธิการ ควบคุม จรรยาและวินัยของครูรักษาผลประโยชน์ ส่งเสริมฐานะของครู จัดสวัสดิการให้ครูและครอบครัว ได้รับความช่วยเหลือตามสมควร ส่งเสริมความรู้และความสามัคคีของครู
ด้วยเหตุนี้ในทุกปี คุรุสภาจะจัดให้มีการประชุมสามัญคุรุสภาประจำปี เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้แทนครูจากทั่วประเทศแถลงผลงานในรอบปีที่ผ่านมา และชักถามปัญหาข้อข้องใจต่างๆ เกี่ยวกับการดำเนินงานของคุรุสภาโดยมีคณะกรรมการอำนวยการคุรุสภาเป็นผู้ตอบข้อสงสัย สถานที่ ในการประชุมสมัยนั้นใช้หอประชุมสามัคยาจารย์ หอประชุมของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และในระยะหลังใช้หอประชุมคุรุสภา
พ.ศ. 2499 ในที่ประชุมสามัญคุรุสภาประจำปี จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีและประธานกรรมการอำนวยการคุรุสภากิตติมศักดิ์ ได้กล่าวคำปราศรัยต่อที่ประชุมครูทั่วประเทศว่า
"ที่อยากเสนอในตอนนี้ก็คือว่า เนื่องจากผู้เป็นครูมีบุญคุณ เป็นผู้ให้แสงสว่างในชีวิตของเราทั้งหลาย ข้าพเจ้าคิดว่าวันครูควรมี สักวันหนึ่งสำหรับให้บรรดาลูกศิษย์ทั้งหลายได้แสดงความเคารพ สักการะต่อบรรดาครูผู้มีพระคุณทั้งหลาย เพราะเหตุว่าสำหรับ คนทั่วไปถ้าถึงวันตรุษ วันสงกรานต์ เราก็นำเอาอัฐิของผู้มีพระคุณบังเกิดเกล้ามาทำบุญ ทำทาน คนที่สองรองลงไปก็คือครูผู้เสียสละ ทั้งหลาย ข้าพเจ้าคิดว่าในโอกาสนี้จะขอฝากที่ประชุมไว้ด้วย ลองปรึกษาหารือกันในหลักการ ทุกคนคงจะไม่ขัดข้อง"
จากแนวความคิดนี้ กอปรกับความเห็นของครูที่แสดงออกทางสื่อมวลชนและอื่นๆ ล้วนเรียกร้องให้มีวันครูเพื่อให้เป็นวันแห่งการรำลึก ถึงความสำคัญของครูในฐานะที่เป็นผู้เสียสละ ประกอบคุณงามความดี เพื่อประโยชน์ของชาติและประชาชนเป็นอันมากในปีเดียวกันที่ประชุมคุรุสภาสามัญประจำปีจึงได้พิจารณาเรื่องนี้และมีมติเห็นควรให้มีวันครูเพื่อเสนอ คณะกรรมการอำนวยการต่อไป โดยได้เสนอหลักการว่า เพื่อจะได้ประกอบพิธีระลึกถึงคุณบูรพาจารย์ ส่งเสริมสามัคคีธรรมระหว่างครูและเพื่อส่งเสริม ความเข้าใจอันดีระหว่างครูกับประชาชน
การจัดงานวันครูได้จัดเป็นครั้งแรกเมื่อ 16 มกราคม พ.ศ. 2500 กระทรวงศึกษาธิการสั่งการให้นักเรียนและครูหยุดในวันดังกล่าวได้ ในส่วนกลางใช้สถานที่ของกรีฑาสถานแห่งชาติเป็นที่จัดงานวันครูนี้ได้กำหนดเป็นหลักการให้มีอนุสรณ์งานวันครูไว้แก่อนุชนรุ่นหลังทุกปี อนุสรณ์ที่สำคัญคือ หนังสือประวัติครู หนังสือที่ระลึกวันครู และสิ่งก่อสร้างเป็นถาวรวัตถุ

กลอนวันครู

กลอน ของ ครู


  • คนเป็นครู    มิใช่        เป็นคนเก่
  • แต่ต้องเป็น  ที่พึ่ง        ยามผิดหวัง
  • คนเป็นครู    มิได้         อยากเด่นดัง
  • แต่ต้องให้   ความหวัง   เยาวชน
  • คนเป็นครู   ไม่คุยอวด  เรื่องตัวเอง
  • ถ้าอยากเก่ง ต้องส่งให้  ศิษย์แข่งขัน
  • รางวัลใหญ่  หาใช่        ถ้วยรางวัล
  • คือศิษย์นั้น    เป็นคนดี    ของสังคม



ครูคือปูชนียบุคคล 
ท่านทำตนเป็นแบบอย่างให้เราเห็น
เป็นดั่งแสงสว่างของเดือนเพ็ญ
ส่องนวลเย็นทั่วหล้าในราตรี
เป็นดั่งดาวพราวระยับสวยจับจิต
คอยส่องทิศส่องทางสว่างศรี
อบรมศิษย์เป็นพลเมืองดี
สอนให้มีความรักคู่คุณธรรม
ครูท่านเป็นเสมือนดั่งพ่อแม่
คอยดูแลยามพลั้งผิดมิคิดซํา
แนะแนวทางสว่างให้ไม่ปิดงำ
สอนให้จำสิ่งที่พลาดเป็นบทเรียน
พระคุณท่านยิ่งใหญ่เกินกำหนด
ไม่มีหมดแม้วันจะผันเปลี่ยน
ส่องสว่างกลางจิตดั่งแสงเทียน
คอยพากเพียรส่งศิษย์ถึงฝั่งเอ

อาชีพครู คือ ......??

1. ครู เป็นผู้นำทางศิษย์ไปสู่คุณธรรมชั้นสูง
            2.ครู คือ ผู้อบรมสั่งสอนถ่ายทอดวิชาความรู้ให้แก่ศิษย์ เป็นผู้มีความหนักแน่น ควรแก่การเคารพของลูกศิษย์
            3. ครู คือผู้ประกอบอาชีพอย่างหนึ่งที่ทำหน้าที่สอน มักใช้กับผู้สอนในระดับต่ำ กว่าวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยหรือสถาบันอุดมศึกษา

 นอกจากนี้ คำว่าครู”  ยังมีความหมายอื่น ๆ ได้อีก เช่น
          1. “ครู คือ ปูชนียบุคคลหมายถึง ครูที่เสียสละ เอาใจใส่เพื่อความเจริญของศิษย์ ซึ่งเป็นบุคคลที่ควรเคารพเทิดทูน
          2. “ครู คือ แม่พิมพ์ของชาติ หมายถึง การเป็นแบบอย่างที่ดีของลูกศิษย์ที่จะ ปฏิบัติตัวตามอย่างครู
          3. “ครู คือ ผู้แจวเรือจ้างหมายถึง อาชีพครูเป็นอาชีพที่ไม่ก่อให้เกิดความ ร่ำรวย ครูต้องมีความพอใจในความเป็นอยู่อย่างสงบเรียบร้อยอย่าหวั่นไหวต่อลาภยศความ สะดวกสบาย

คุณสมบัตฺของครู

ครูควรมีคุณสมบัติอย่างไร
๑. มีความเมตตากรุณาอย่างแท้จริง คือเมตตากรุณาโดยไม่หวังผลตอบแทน ไม่คิดทวงคืนจากศิษย์ กระทำอย่าง ไม่ขาดตอนและไม่ลดละ ทำเพราะรู้ว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้องควรทำ ให้เพราะรู้ว่าเป็นสิ่งที่ ควรให้ ไม่ว่าจิตใจของครู ในขณะนั้น จะเป็นอย่างไร บ่อของความเมตตา กรุณา ในใจของครู ยังมั่นคง เต็มเปี่ยม พร้อมที่จะเผื่อแผ่ไหลหลั่ง เจือจานลูกศิษย์ได้เสมอ
๒. มีความเป็นกัลยาณมิตรต่อศิษย์ตลอดชีวิต กัลยาณมิตร แปลตามตัวก็คือ เพื่อนที่ดี สมเด็จ พระสัมมา สัมพุทธเจ้า ท่านรับสั่งเสมอว่า ผู้ใด มีพระองค์ท่าน เป็นกัลยาณมิตร ผู้นั้นจะมีชีวิตรอด ความรอดนั้นคือรอดจากความทุกข์ รอดจากสิ่งที่เป็นปัญหา
ไม่ว่าศิษย์จะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ ทำงานการมีตำแหน่งหน้าที่อย่างใด ครูก็ยังห่วงใยติดตาม ด้วยความหวังดี ไม่ว่าศิษย์ จะเป็นคนอย่างไร จะไปประกอบอาชีพใด มีชีวิตหักเหอย่างไร ถ้าได้ทราบว่า ลูกศิษย์ไปตกอยู่ในอันตราย หรือตกอยู่ในความเขลา หรือกำลัง คิดจะทำอะไรที่ผิด ครูซึ่งเป็น กัลยาณมิตร ของศิษย์ จะให้คำแนะนำ ตักเตือน ว่ากล่าว แต่หากลูกศิษย์ไปดี เจริญก้าวหน้า ทำตน เป็นประโยชน์แก่สังคม ครูก็อนุโมทนา ชื่นชมยินดี แม้ลูกศิษย์ จะไม่ทราบ แต่ครูก็ชื่นใจ และมีสิทธิ ที่จะรู้สึกเช่นนั้นได้


ความหมายของอาชีพครู


        ความหมายของครูดังกล่าวข้างต้นเป็นความหมายตามเนื้อความหรือเนื้อแท้ของครู  กล่าวคือ ผู้ที่เป็นครูควรมีภาวะดังกล่าวอันได้แก่  ความรู้ ความประพฤติ และคุณธรรม ไม่ว่าครูนั้นจะอยู่   ณ ที่ใด หน่วยงานไหนก็ตามอย่างไรก็ตาม ยังมีความหมายของครูอีกอย่างหนึ่งที่กำหนดโดยกฎหมาย ให้เป็นรูปแบบ  แบ่งเป็นชั้นหรือระดับ  สูงต่ำแตกต่างกัน  และอาจเกิดสิ่งที่เรียกว่าเกียรติ หรือศักดิ์ศรี  แทรกซ้อนอยู่ในรูปแบบนั้นด้วย ซึ่งบางทีอาจปิดกั้นไม่ให้มองเห็นความ หมายตามเนื้อแท้ก็ได้  ความหมายของครูโดยกฎหมายนี้อาจเรียกว่า  ความหมายของ ครูตามรูปแบบ”  แต่มันเป็นความหมายไม่แน่นอนตลอดไป  อาจมีการเปลี่ยนไปได้ใน เมื่อใดกฎหมายกำหนดขึ้นมาใหม่ ก็อาจจะเปลี่ยนไปใหม่ได้ตามรูปแบบนั้น ๆ
ความหมายของครูตามรูปแบบอาจมีส่วนกระทบในทางลบต่อความหมายของครูตาม เนื้อแท้ก็ได้  และคำว่า ครู” อาจจะค่อย ๆ เลือนหายไปจากความสนใจของสังคมโดยอาจ ถูกมองว่าไม่เหมาะสมกับยุคสมัย เช่นที่เรียกว่า ครู” ก็เรียกว่า  อาจารย์” หรือผู้ ช่วยศาสตราจารย์ หรือคำอื่น ๆ  อาจจะเป็นใครก็ได้ที่สามารถทำหน้าที่สอนได้  จนที่สุดแม้แต่ เครื่องเทคโนโลยีก็อาจเป็นครูได้  เพราะสามรถทำหน้าที่สอนให้เกิดความรู้ได้ ดังนั้นองค์ประกอบแห่งความเป็นครูที่กล่าวข้างต้น คือ ความรู้  ความประพฤติและคุณธรรม  อาจเหลือเฉพาะองค์ประกอบเดียวคือ ความรู้เท่านั้นก็